เจาะลึกความหมายของ Freight Forwarder และ Shipping
เมื่อพูดถึงระบบโลจิสติกส์ (Logistics) หรือระบบการจัดส่งสินค้า สิ่งของ ตลอดจนทรัพยากรต่าง ๆ จากแหล่งผลิตต้นทางไปยังจุดหมายปลายทางตามความต้องการของลูกค้า แน่นอนว่าในปัจจุบันนี้หลาย ๆ คนก็คงไม่รู้สึกแปลกใหม่กับคำดังกล่าวนี้มากนัก เพราะระบบโลจิสติกส์ได้เข้ามามีบทบาทและกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นทั้งทางตรง อาทิ การส่งพัสดุ การซื้อสินค้าออนไลน์ และทางอ้อม อาทิ การเลือกซื้อสินค้าสำหรับอุปโภคและบริโภค ที่ถือเป็นปลายทางของระบบโลจิสติกส์ด้วยกันทั้งนั้น
อย่างไรก็ตาม หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ ผู้ประกอบ หรือผู้ที่ทำงานในองค์กรที่มีความจำเป็นจะต้องใช้บริการระบบโลจิสติกส์เพื่อการนำเข้าและส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศเป็นประจำ เชื่อว่าอีกชุดคำศัพท์ที่คุณมักจะได้ยินผ่านหูอยู่บ่อย ๆ ควบคู่มากับว่าโลจิสติกส์นั้นก็คงจะหนีไม่พ้นคำว่า Freight Forwarder และ Shipping ที่ถือได้ว่าเป็นสองคำที่มักจะสร้างความสับสนให้กับคนที่ไม่คุ้นเคยกับแวดวงโลจิสติกส์กันอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะถึงแม้ว่า Freight Forwarder และ Shipping จะมีความเกี่ยวข้องกันแต่ก็ไม่ได้มีรูปแบบการดำเนินงานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันเสียทีเดียว
ทำความรู้จักกับ Freight Forwarder
Freight Forwarder หมายถึง การประสานงานและการจัดการการขนส่งสินค้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยผู้ส่งสินค้าที่อยู่ในรูปแบบของบริษัทหรือบุคคล ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางหรือตัวแทนระหว่างผู้ส่งออกและผู้นำเข้าสินค้าในการให้บริการเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทั้งทางเครื่องบิน (Air Freight), ทางรถบรรทุก หรือทางเรือ โดยที่ผู้ให้บริการ Freight Forwarder จะเป็นผู้ดำเนินการทั้งในส่วนของการให้บริการและคำปรึกษาเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ การติดต่อประสานงานระหว่างผู้ส่งออกและผู้นำเข้าสินค้า
รวมถึงการจองระวางเรือ การรวบรวมสินค้า การบรรจุสินค้า การกระจายสินค้า การบริหารจัดการคลังสินค้า การประกันภัยสินค้า การจัดทำเอกสารหรือใบอนุญาตที่มีความจำเป็นจะต้องใช้ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนการดำเนินพิธีการศุลกากรทั้งในส่วนของการนำของเข้าและส่งของออก เพื่อให้แน่ใจว่าการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าระหว่างประเทศจะเป็นไปด้วยความราบรื่นและสามารถทำให้สินค้าถูกจัดส่งถึงปลายทางได้อย่างตรงเวลาและอยู่ในสภาพดีที่สุด
แต่อย่างไรก็ตาม โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในรูปแบบ Freight Forwarder มักจะไม่มีตู้คอนเทนเนอร์หรือเรือเดินทะเลเป็นของตัวเอง เพราะฉะนั้นแล้วในการทำการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ทางบริษัทผู้ให้บริการ Freight Forwarder จึงจำเป็นที่จะต้องทำการติดต่อเพื่อขอเช่าเรือเดินทะเลและตู้คอนเทนเนอร์จากผู้ให้บริการอื่น ๆ และเพื่อให้การขนส่งสินค้าในรูปแบบ Freight Forwarder เป็นไปอย่างคุ้มค่ามากที่สุด ทางผู้ให้บริการ Freight Forwarder จึงจำเป็นที่จะต้องรวบรวมลูกค้าขนาดเล็กหลาย ๆ รายเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยให้การเช่าตู้คอนเทนเนอร์และการขนส่งระหว่างประเทศมีความคุ้มค่าคุ้มราคามากที่สุด
ทำความรู้จักกับ Shipping
อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นว่าทั้ง Freight Forwarder และ Shipping ต่างก็มีความเกี่ยวข้องกันอยู่ในฐานะของการเป็นหนึ่งในบริการที่สำคัญของระบบโลจิสติกส์ อย่างไรก็ตาม Freight Forwarder และ Shipping ก็ล้วนแล้วแต่จะมีลักษณะและรูปแบบในการให้บริการที่แตกต่างกันออกไป โดยการขนส่งสินค้าแบบ Shipping หมายถึง การขนส่งสินค้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางอากาศ ทางทะเล หรือทางบก
โดยบริษัทหรือบุคคลที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้นำเข้าและผู้ส่งออกในการให้บริการและรับผิดชอบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
โดยที่ทางบริษัทผู้ให้บริการด้าน Shipping จะทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานกับผู้ส่งออกและผู้นำเข้าเกี่ยวกับรายละเอียดของสินค้า เพื่อการช่วยจัดเตรียมใบอนุญาตหรือเอกสารที่จำเป็นจะต้องใช้ในการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนการให้บริการเกี่ยวกับศุลกากร ไม่ว่าจะเป็นการจัดเตรียมใบขนส่งสินค้าสำหรับการใช้ผ่านด่านศุลกากร และการดำเนินพิธีการศุลกากรทั้งการนำของเข้าและส่งของออก
ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วบริษัทผู้ให้บริการด้าน Shipping มักจะมีตู้คอนเทนเนอร์และเรือเดินทะเลเป็นของตัวเอง ส่งผลให้เจ้าของธุรกิจและผู้ประกอบการที่เลือกใช้บริการด้าน Shipping ส่วนใหญ่จึงมักจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีการนำเข้าและส่งออกสินค้าระหว่างประเทศในปริมาณมาก ๆ เนื่องจากการใช้บริการบริษัท Shipping สามารถช่วยให้บริการที่ครอบคลุม โดยเพียงแค่ติดต่อกับบริษัทผู้ให้บริการ Shipping พร้อมแจ้งรายละเอียดเกี่ยว
กับปริมาณสินค้า รวมถึงความต้องการในการเช่าตู้ส่วนตัว หรือการเช่าตู้รวมสินค้ากับผู้อื่น ทางบริษัท Shipping ก็จะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยในการขนส่งสินค้า ตลอดจนการนำสินค้าของลูกค้าไปเข้าสู่ตู้คอนเทนเนอร์ และการนำตู้คอนเทนเนอร์ไปยังท่าเรือเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
Freight Forwarder และ Shipping ต่างกันอย่างไร? เลือกใช้งานอย่างไรให้ตอบโจทย์
เรือและตู้คอนเทนเนอร์: ผู้ให้บริการในรูปแบบ Freight Forwarder จะไม่มีเรือและตู้คอนเทนเนอร์เป็นของตัวเอง และต้องดำเนินการเช่าเรือและตู้คอนเทนเนอร์จากผู้อื่นเพื่อการนำมาให้บริการกับลูกค้า ในขณะที่ผู้ให้บริกการ Shipping Service จะมีทั้งเรือและตู้คอนเทนเนอร์เป็นของตัวเอง
ประเภทของลูกค้า: ส่วนใหญ่แล้วลูกค้าของ Freight Forwarder มักจะเป็นลูกค้ารายย่อยที่มีการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าระหว่างประเทศในปริมาณไม่มากนัก แต่สำหรับลูกค้าของ Shipping มักจะเป็นลูกค้าประเภทธุรกิจหรือองค์กรขนาดใหญ่ ที่มีการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเป็นประจำ
ราคาสำหรับการขนส่งสินค้า: การขนส่งสินค้าในรูปแบบ Freight Forwarder ส่วนมากจะมาพร้อมด้วยค่าบริการสำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่มากกว่า เนื่องจาก Freight Forwarder มีต้นทุนด้านค่าเช่าเรือ ค่าเช่าคอนเทนเนอร์ ตลอดจนค่าบริการอื่น ๆ ที่มากกว่าการขนส่งแบบ Shipping
สรุป
จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าทั้งการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศด้วยบริการ Freight Forwarder และ Shipping ล้วนมีรายละเอียดปลีกย่อยมากมายที่ความแตกต่างกันออกไป แต่อย่างไรก็ตามการเลือก Freight Forwarder และ Shipping ให้ตอบโจทย์กับความต้องการของธุรกิจก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกดี ๆ ที่จะทำให้ธุรกิจและองค์กรมีตัวช่วยดี ๆ ในการนำเข้าและขนส่งสินค้าระหว่างประเทศได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด